Good Quote

Stand up for what is right. Even if you’re standing alone.

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ทำไม....กุมภาพันธ์....ถึงมีวันน้อยกว่าเดือนอื่น

เดือนกุมภาพันธ์ในภาษาอังกฤษ February มาจากเทพเจ้าโรมันนามว่า Februus ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความบริสุทธิ์ ปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคมมีเดือนเพียง 10 เดือน (304 วัน) โดยไม่มีเดือนในช่วงฤดูหนาว

ปฏิทินจูเลียนที่สร้างโดยโดยจูเลียส ซีซาร์ ได้มีการเพิ่มเดือน 2 เดือน คือ เดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้ 1 ปีมี 12 เดือน และปฏิทินจูเลียนได้กำหนดไว้ว่า เดือนคี่มี 31 วัน เดือนคู่มี 30 วัน ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในปีปกติสุรทิน และ 30 วันในปีอธิกสุรทิน

ต่อมาจักรพรรดิออกุสตุส ซีซาร์ ไม่พอใจว่า เดือนเกิดของตัวเองซึ่งเป็นเดือนที่ 8 เป็นเดือนคู่มี 30 วัน จึงชักวันออกจากเดือนกุมภาพันธ์ 1 วัน ทำให้เดือนสิงหาคมมี 31 วัน และเดือนกุมภาพันธ์มี 28 หรือ 29 วัน กระทั่งทุกวันนี้

ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนกุมภาพันธ์ในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน

เมื่อจูเลียส ซีซาร์รับปฎิทินมาจากอียิปต์และกำหนดให้เดือนมกราคมเป็นเดือนแรกของปีและยกเลิกปฏิทินแบบอียิปต์
(เรียกว่าปีระบบดวงจันทร์ คืออาศัยข้างขึ้น ข้างแรมสังเกตความเปลี่ยนแปลงของดวงจันทร์)
โดยเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ก่อน ค.ศ.๔๕ ปี
และได้กำหนดให้ในแต่ละเดือนมีจำนวนวันดังนี้

เดือน           จำนวนวัน
มกราคม          31
กุมภาพันธ์       28
มีนาคม           31
เมษายน          30
พฤษภาคม      31
มิถุนายน         30
กรกฎาคม        31
สิงหาคม         31
กันยายน         30
ตุลาคม          31
พฤศจิกายน    30
ธันวาคม        31
รวม 12 เดือน 365 วัน
แต่ระยะเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ๑ รอบ คือ 365.24224 วัน(อ่านรายละเอียดในเรื่อง เล่าเรื่องเดือนแปดสองครั้ง)ถ้าปีใดเดือน กุมภาพันธ์มี 28 วัน ปีนั้นมีจำนวนวัน 365 วัน ก็ขาดไป 0.24224 วัน

ถ้าปีใดเดือน กุมภาพันธ์มี 29 วัน ปีนั้นมีจำนวนวัน 366 วัน ก็เกินไป 0.24224 วัน
ดังนั้น เพื่อง่ายแก่การเพิ่มหรือลดระยะเวลาที่ขาดหรือเกินไป จึงกำหนดให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ส่วนที่ขาดไปปีละ 0.24224 วันนั้น(ประมาณ 6 ชั่วโมง ผู้เขียน) ก็ทดไว้จนครบ ๔ ปี ก็จะได้วันอีกหนึ่งวัน

ดังนั้น จึงเพิ่มเข้าในเดือนกุมภาพันธ์ จาก 28 วัน เป็น 29 วัน เรียกว่าอธิกสุรทิน(วันเกิน) วิธีการคำนวณหาเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันอย่างง่ายๆ เอาปี ค.ศ.ตั้ง หารด้วย ๔ ลงตัว (ไม่มีเศษปีนั้น กุมภาพันธ์มี 29 วัน)

ข้อผิดพลาดบางประการของการเพิ่มวันเข้ามาถ้าเราใช้วิธีเพิ่มเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันทุก ๔ ปีจนครบ 400 ปี จะมีวันเกินไป 3.104 วัน ดังนั้นทุก 400 ปี จะไม่เป็นอธิกสุรทิน 3 วัน ซึ่งมีการกำหนดดังนี้
ในปีคริสตศักราช ที่ครบจำนวนเต็มร้อย ที่หารด้วย 400 ไม่ลงตัว เช่น 1700, 1800, 1900 ซึ่งปกติแล้วเดือนกุมภาพันธ์จะต้องมี 29 วัน แต่จะไม่เพิ่มขึ้นมาเพราะวันเกินมาอยู่แล้ว ที่ทำเช่นนี้ เพราะต้องการให้เวลาถูกต้องตามธรรมชาติ แต่เมื่อเวลาผ่านไป 10,000 ปี จะผิดไป 3 วัน แต่ไม่ต้องวิตก เพราะคุณคงจะไม่มีอายุยืนนานขนาดนั้น นอกเสียจากว่า คุณจะเป็นอมตะ 

เพื่อนผมก็เกิด 29 กพ. นะ แต่ฉลองเป็นคืนที่ 28 แทน ทุกปี จนลืมไปแล้วว่าเคยเกิด 29 กพ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น