Good Quote

Stand up for what is right. Even if you’re standing alone.

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ความพ่ายแพ้ ไม่น่ากลัวเท่ากับ การยอมแพ้

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2511 ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ประเทศเม็กซิโก
“อัควารี” ลงแข่งขันในประเภทวิ่งมาราธอนระยะทางกว่า 40 กิโลเมตร ซึ่งจะเริ่มสตาร์ตจากในสนามกีฬา และจากนั้นก็วิ่งออกไปตามเส้นทางนอกสนาม ก่อนที่จะวิ่งรอบสุดท้ายในสนามกีฬาอีกครั้งหนึ่ง
หลังการแข่งขันสิ้นสุดลงมีการมอบเหรียญให้กับคนที่ได้ เหรียญทอง เหรียญเงินและเหรียญทองแดง



ผู้ชมเริ่มทยอยเดินออกจากสนามไม่มีใครรู้ว่าการแข่งขันนั้นยังไม่สิ้นสุด เพราะนักกรีฑาคนสุดท้ายเพิ่งเข้าสู่สนามเวลาตอนนั้น 1ทุ่มตรง

“อัควารี” วิ่งฝ่าความมืดอย่างกระโผลกกระเผลก ขาข้างขวาโชกเลือด...ต้องพันด้วยผ้าพันแผล
เขาวิ่งด้วยอาการเหนื่อยหอบ...ความเร็วของเขาช้ากว่าการเดิน

แต่ “อัควารี” ก็ยังวิ่ง…วิ่งวิ่ง และวิ่ง…จนถึงเส้นชัย

เขาได้รับเสียงปรบมือดังลั่นจากผู้คนน้อยนิดที่ยังเหลืออยู่ในสนาม
ผู้สื่อข่าวคนหนึ่งถาม“อัควารี” หลังจากที่เขาเข้าเส้นชัย
“ทำไมคุณถึงไม่เลิกวิ่ง ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่า ไม่มีโอกาสชนะ”
คำตอบของ “อัควารี” กลายเป็นประโยคอมตะที่มีคนกล่าวถึงจนทุกวันนี้

“ ประเทศของผมไม่ส่งผมมาแค่ออกสตาร์ตแต่ส่งผมมาเพื่อวิ่งให้สำเร็จ ”

ครับ มีหลายคนที่ออกจากการแข่งขันไปเมื่อรู้ว่าโดนทิ้งห่างเป็นกิโลเมตร
แต่ “อัควารี” ไม่หยุดวิ่ง

เป้าหมายของเขาไม่ได้อยู่ที่“ชัยชนะ”
เขาไม่ได้แข่งกับคนอื่น
แต่ “อัควารี” กำลังแข่งขันกับตัวเอง

และทำตามภารกิจที่ประเทศแทนซาเนียมอบให้เขา
คือการวิ่งมาราธอนให้ครบ 40 กิโลเมตร
การวิ่งถึง “เส้นชัย” คือ “ชัยชนะ”
แต่ “ชัยชนะ” ไม่ใช่ “เส้นชัย” ของ “อัควารี”
ทุกก้าวของ “จอห์นสตีเฟน อัควารี” นอกจากความเจ็บปวดจากบาดแผลที่ขา “อัควารี” ก็คงรู้อยู่แล้วว่าเขาโดนคู่แข่งทิ้งห่างไกลเพียงใด และคงมีคำถามในใจมากมายว่า...เขาจะทนเหนื่อยและเจ็บต่อไปเพื่ออะไร
…เพื่อพ่ายแพ้อย่างนั้นหรือ ???
ทางเลือกในใจเขามีมากกว่าหนึ่ง
มากกว่าการวิ่งต่อไป…วิ่งต่อไป…
ทำไมไม่ถอนตัวออกจากการแข่งขัน
อ้างเรื่องบาดเจ็บก็ได้ชาวแซนทาเนียคงไม่ว่าอะไร
ถ้าถอนตัวเขาก็ไม่ต้องเหนื่อย ไม่ต้องเจ็บ
วินาทีนั้น ”คู่แข่ง” ที่สำคัญที่สุดของ“อัควารี”
ไม่ใช่ใครที่ไหน ….แต่เป็น“ตัวเอง”
ความเหนื่อย ความท้อบั่นทอนกำลังใจในการก้าวย่าง
ถ้าใจของเขาคิดแค่ระยะทางที่เหลืออยู่...10 กิโลเมตร 9 กิโลเมตร 7 กิโลเมตร…
เขาคงจะรู้สึกท้อเพราะเส้นทางกว่าจะถึงเส้นชัยนั้นยาวไกลเหลือเกิน
แต่เพราะ “อัควารี” คิดเพียงแค่ก้าวต่อก้าว
สมาธิอยู่ที่ “ปลายเท้า” ....ทุกก้าว คือ ความสำเร็จ
สั่งสมความสำเร็จจาก1 เป็น 2 ... จาก 2 เป็น 3...และสุดท้ายก็ถึง “เส้นชัย”

มีคนเคยบอกว่าคนหลงป่าที่เสียชีวิตนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้เสียชีวิตจากการขาดน้ำและขาดอาหาร แต่ตายเพราะขาด “ความหวัง”

เมื่อปราศจาก “ความหวัง” เป็น “พลัง” ในการก้าวเดินต่อไป เขาจึงยอมแพ้แก่โชคชะตา ไม่หาอาหารไม่คิดหาแหล่งน้ำ ไม่คิดที่จะหาทางออกจากป่า ในที่สุดก็ตรอมใจและสิ้นใจ
ในชีวิตจริงคนจำนวนไม่น้อย ล้วนเคยอยู่ในภาวะ “หลงป่า”
เคยรู้สึกสับสนในอุโมงค์ที่ดำมืดแห่งชีวิต
นึกไม่ออกว่าจะฝ่าฟันออกไปสู่แสงสว่างได้อย่างไรจะไปทางไหนดี
และต้องใช้ระยะเวลาอีกนานเท่าไรจึงจะพบกับ " แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ "
...ขาดกำลังใจ และไร้ความหวัง...
ในภาวะ “หลงป่า” บางคนก็จะนึกถึงแต่“อดีต”
หรือฝันไกลถึง “อนาคต”
ไม่ได้อยู่กับ “ปัจจุบัน” ที่เป็นจริง
ไม่ได้มองที่ปลายเท้าเหมือน“จอห์น สตีเฟน อัควารี”
แข่งขันกับตัวเองและมีความสุขกับทุกก้าวย่าง

“อดีต” คือเรื่องที่ผ่านไปแล้ว
“อนาคต” คือสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
สะสมความสำเร็จไปทีละก้าว

จากวันเป็นเดือน
จากเดือนเป็นปี
จาก 1 ปี เป็น2 ปี…
พึงพอใจกับทุกก้าวย่างของเรา
อย่าลืมว่า…

“ความพ่ายแพ้” ไม่น่ากลัวเท่ากับ “การยอมแพ้”

ใจที่ยอมแพ้จะบั่นทอนกำลังใจของเรามากที่สุด
ทุกครั้งที่ใจเริ่มยอมแพ้
ให้นึกถึง “จอห์นสตีเฟน อัควารี”
และประโยคอมตะของเขา
“ประเทศไม่ส่งผมมาแค่ออกสตาร์ท แต่ส่งผมมาเพื่อวิ่งให้สำเร็จ”
จากนั้นให้ก้าวต่อไป
ด้วยความหวังและกำลังใจ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น