Good Quote
Stand up for what is right. Even if you’re standing alone.
วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
โจทย์ผิด หรือ คำตอบผิด? คุณค่าของคนไม่ต่างกัน
ครูคนหนึ่งตั้งคำถามกับเด็กว่า 'ถ้ามีเงินอยู่ 10 บาท ซื้อของ 3 บาท จะได้รับเงินทอนเท่าไร'
เด็กส่วนใหญ่ตอบว่า '7 บาท'
แต่มีเด็ก 2คนที่ตอบไม่เหมือนกับคนอื่น คนหนึ่งตอบว่า '2 บาท' อีกคนหนึ่งตอบว่า 'ไม่ต้องทอน'
ครูถามเด็กคนแรกว่าทำไมถึงได้เงินทอน 2 บาท
คำตอบที่ได้ก็คือภาพในใจของเขาสำหรับเงิน 10 บาท คือ เหรียญห้า 2 เหรียญ เมื่อซื้อของราคา 3 บาท เขาก็ให้เหรียญห้า 1 เหรียญ ดังนั้น จึงได้เงินทอน 2 บาท
ถามเด็กคนที่สองว่าทำไมไม่เหลือเงินทอนเลย
คำตอบก็คือเด็กคนนี้คิดว่าในกระเป๋ามีเหรียญบาท 10 เหรียญ เมื่อซื้อของราคา 3 บาท เขาก็ส่งเหรียญบาทให้ 3 เหรียญ เพราะฉะนั้น คนขายจึงไม่ต้องทอนเงินให้เขา
โชคดีที่เป็นการถาม-ตอบในห้องเรียน ลองนึกดูสิครับว่าถ้าโจทย์นี้เป็นข้อสอบที่มีคำตอบเป็น ก-ข-ค-ง เด็ก 2 คนนี้ก็คงไม่ได้คะแนนจากคำตอบที่ผิดเพี้ยนจากคนส่วนใหญ่ และไม่ผ่านการเรียน
การสร้างโจทย์ที่ 'เสมือนจริง' จินตนาการของ 'ครู' อาจถูกจำกัดเพียงแค่ 'ตัวเลข' และผลลัพท์ที่กำหนดไว้แต่เริ่มต้น แต่สำหรับเด็ก เขามีความคิดและจินตนาการของผลลัพท์ที่ไร้กรอบ หรือที่เรียกว่าคิด 'นอกกรอบ'
หากโจทย์บอกชัดเจนว่า มีธนบัตรฉบับละ 10 บาท อยู่ 1 ฉบับ ทุกคนคงตอบเหมือนกัน
เช่นเดียวกัน ในการทำงาน หากผู้บริหาร หรือผู้บังคับบัญชา ไม่สามารถสร้างโจทย์ที่ชัดเจนได้ แต่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติ โดยที่ตนเองมีเป้าหมายและคำตอบไว้เรียบร้อยแล้ว
ถามว่า อะไรจะเกิดขึ้น?
สิ่งที่เกิดขึ้นมีทั้งคนผิด และคนถูก
เราคิดว่ามนุษย์มีทุกอย่างเหมือนกัน ข้อนี้ถูกต้อง สิ่งหนึ่งที่มนุษย์มีเหมือนกัน แต่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง คือ
" อำนาจความคิดและแนวทางการกระทำของแต่ละคน"
เปรียบเทียบเหมือนตัวอย่างโจทย์ด้านบน เมื่อคุณเป็นผู้กำหนด คุณก็ต้องมีความชัดเจนและต้องมีเหตุผลที่จะต้องรับฟัง แก้ไข เพื่อปรับปรุงให้ผลที่ได้นั้นไปสู่แนวทางที่ดีขึ้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น